วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2559


การบันทึกครั้งที่ 2
วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2559 (เรียนชดเชย วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.2559 )
เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ

ก่อนเริ่มการเรียนการสอน อาจารย์ให้เขียนความรู้เดิมเกี่ยวกับวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยเขียนเป็นมายแม๊ป ซึ่งมีคำสำคัญอยู่ 3 คำ ได้แก่ การจัดประสบการณ์ วิทยาศาสตร์และเด็กปฐมวัย 


1. ความหมายของวิทยาศาสตร์

  การศึกษาเพื่อสืบค้นและค้นหาความจริง ด้วยทักษะกระบวนการที่ต้องใช้การสังเกต การทดลองและการใช้เหตุผล เพื่อต้องการค้นหาความจริงที่จะได้รู้ซึ่งหลักการทางวิทยาศาสตร์

2. ความสำคัญของวิทยาศาสตร์

     วิทยาศาสตร์ ช่วยในการดำรงชีวิตของเรา สามารถตอบสนองความต้องการในชีวิตของมนุษย์ พัฒนาทักษะกระบวนการต่างๆ เสริมสร้างประสบการณ์

 3. กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลผลิต
     กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง การค้นคว้าความรู้อย่างมีระบบ
     ผลผลิต หมายถึง สิ่งที่ปรากฏขึ้นหลังจากที่ได้ทำการทดลอง หรือการศึกษาค้นคว้าด้วยวิธีการทาง
วิทยาศาสตร์แล้ว
     กิจกรรมวิทยาศาสตร์นั้นกระบวนการและผลผลิต จะต้องเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องเสมอ เพราะว่าเมื่อครูจัดเตรียมให้เด็กทำกิจกรรม ครูก็จะต้องเฝ้าสังเกตดูวิธีการทำงานของเด็ก (กระบวนการ) และเมื่อเด็กทำเสร็จแล้ว ครูก็จะต้องดูผลงานของเด็ก (ผลผลิต)

4. แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
     เกรก (Graig) ได้ให้แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เอาไว้ 5 ประการที่เรียกว่า Graig's Basic Concepts มีลักษณะรวมที่สำคัญ 5 ประการ คือ
1. การเปลี่ยนแปลง (Change)  ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น จึงควรให้เด็กและเห็นและเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น เวลา สิ่งที่อยู่รอบตัว
2. ความแตกต่าง (Variety) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีความคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน จึงควรให้เด็กเข้าใจถึงความแตกต่างและความเหมือนของสิ่งต่างๆ โดยอาศัยการสังเกตสิ่งต่างๆ รอบตัว
3. การปรับตัว (Adjustment) ทุกสิ่งทุกอย่างจะมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ครูจึงควรให้เด็กสังเกตถึงธรรมชาติประการนี้จากสิ่งต่างๆ 
4. การพึ่งพาอาศัยกัน (Muturit) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะต้องพึ่งพาอาศัยกัน เช่น คนกับเงิน นกเอี้ยงกับควาย
5. ความสมดุล (Equitibrium) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะต้องสู้เพื่อรักษาชีวิตและปรับตัวให้ได้ดุล และมีความผสมกลมกลืนกัน เช่น ปลาอยู่ในน้ำ นกบินได้ สัตว์แข็งแรงย่อมกินสัตว์ที่อ่อนแอ
     แนวคิดพื้นฐานทั้ง 5 ประการนี้ จะช่วยให้ครูเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของ วิชาและให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้ตามธรรมชาติ
วิธีการทางวิทยาศาสตร์
5. การเรียนรู้

-การเรียนรู้เกิดขึ้นจากเส้นใยของสมองที่เชื่อมกัน
-การทำให้เด็กการคิด เพื่อให้เส้นใยประสาทเชื่อมต่อกันในเซลล์ต่างๆ 
                                            อุปสรรคการเรียนรู้
                 ไม่ได้เรียนรู้                                                         เรียนรู้ผิด
(ใยประสาทและจุดเชื่อมโยงหายไป)             (ใยประสาทของวงจรการเรียนรู้ผิดหนาตัวขึ้น)

6. เจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Attitudes)
เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่จะต้องปลูกฝังให้เกิดขึ้น เป็นเสมือนตัวกำกับความคิด การกระทำ การตัดสินใจในการปฏิบัติงานทางวิทยาศาสตร์

ลักษณะของเจตคติทางวิทยาศาสตร์ แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

1. เจตคติที่เกิดจากการใช้ความรู้
  1. กฎเกณฑ์ ทฤษฎี และหลักการต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์
  2. การอธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยถือผลที่เกิดจากการสังเกต ทดลอง ตามที่เกิดจริง โดยอาศัยข้อมูลองค์ประกอบที่เหมาะสม
2. เจตคติที่เกิดจากความรู้สึก
  1. กิจกรรมทางวิทยาศาสตร์มุ่งที่ก่อให้เกิดความคิดใหม่ๆ เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติ คุณค่าสำคัญจึงอยู่ที่การสร้างทฤษฎี
  2. ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์จะมีมากขึ้นถ้าได้รับการสนับสนุนจากบุคคล
  3. การเป็นนักวิทยาศาสตร์ หรือการทำงานที่ต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งที่น่าสนใจและมีคุณค่า
คุณลักษณะของบุคคลที่มีเจตคติทางวิทยาศาสตร์ สรุปได้ดังนี้
1. มีเหตุผล
2. มีความอยากรู้อยากเห็น
3. มีใจกว้าง
4. มีความซื่อสัตย์และมีใจเป็นกลาง
5. มีความเพียรพยายาม
6. มีความละเอียดรอบคอบ  

7. ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์ 

      วิทยาศาสตร์มีประโยชน์ต่อมนุษย์และมีบทบาทสำคัญต่อการ พัฒนาประเทศ ผลของการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวโยงกับความเจริญในด้านต่างๆ เช่น การแพทย์ การสื่อสารคมนาคม การเกษตร การศึกษา การอุตสาหกรรม การเมือง การเศรษฐกิจ ฯลฯ สรุปได้ดังนี้

  • วิทยาศาสตร์ช่วยให้มีความสามารถในสังคม ในสังคมที่มีสิ่งแวดล้อมทางวิทยาศาสตร์ บุคคลที่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ จะเป็นผู้มีความสามารถ และมีความสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนและสังคม
  • วิทยาศาสตร์ช่วยแนะแนวอาชีพ วิทยาศาสตร์ก่อให้เกิดอาชีพหลายสาขา และเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต
  • วิทยาศาสตร์ช่วยให้เกิดความเจริญทางร่างกายและจิตใจ การได้รับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ อนามัย อาหาร การดำรงชีวิต จะช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตและมีสุขภาพแข็งแรง
  • วิทยาศาสตร์ช่วยให้เป็นผู้บริโภคที่สามารถ หมายถึง การตัดสินใจในการใช้สินค้าหรือบริการต่างๆ โดยอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์
  • วิทยาศาสตร์ช่วยให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจ
  • วิทยาศาสตร์ช่วยให้รู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นประโยชน์
  • วิทยาศาสตร์ช่วยแก้ปัญหาต่างๆ 

8. พัฒนาการทางสติปัญญา (cognitive development)
  • ความเจริญงอกงามด้านความสามารถ ในการคิดของแต่ละบุคคล
  •  พัฒนาขึ้นมาจากการมีปฏิสัมพันธ์ (interaction) กับสิ่งแวดล้อม
  • เริ่มตั้งแต่แรกเกิด ผลของการปฏิสัมพันธ์จะทำให้เด็กรู้จัก "ตน" (Self) เพราะตอนแรกเด็กจะยังไม่สามารถแยก "ตน" ออกจากสิ่งแวดล้อมได้
  • การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาและตลอด
กระบวนการปฏิสัมพันธ์ (interaction) ประกอบด้วย 2 กระบวนการ
1. กระบวนการดูดซึม (assimilation)
    เมื่อมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมก็จะซึมซาบหรือดูดซึมประสบการณ์ใหม่ ให้รวมเข้าอยู่ในโครงสร้างของ สติปัญญา โดยจะเป็นการ ตีความ หรือการรับข้อมูลจากสิ่งแวดล้อม
2. กระบวนการปรับโครงสร้าง (accommodation) 
    การเปลี่ยนแบบโครงสร้างของเชาว์ปัญญาที่มีอยู่แล้วให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม หรือประสบการณ์ใหม่ หรือเป็นการเปลี่ยนแปลงความคิดเดิมให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมกับสิ่งแวดล้อม ใหม่ ซึ่งเป็นความสามารถในการปรับโครงสร้างทางปัญญา
* การเล่นคือวิธีการเรียนรู้ของเด็ก
คำศัพท์ 
  • The experience  = การจัดประสบการณ์
  • science  = วิทยาศาสตร์
  • early childhood   = เด็กปฐมวัย
  • Learning   = การเรียนรู้
  • Playing     = การเล่น



การนำมาประยุกต์ใช้
  • สามารถนำเนื้อหาการเรียนไปใช้ในอนาคตได้
บรรยากาศในห้องเรียน
  • โต๊ะ เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา สะอาดเรียบร้อย อุณหภูมิในห้องพอดี
การจัดการเรียนการสอน
  • มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ 

ประเมินตนเอง
  • ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมอย่างเต็มที่                     
ประเมินเพื่อน
  • มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม            
ประเมินอาจารย์
  • แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น