สรุปองค์ความรู้จากงานวิจัย
ชื่องานวิจัย
การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีผลต่อความรู้ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย
ปริญญานิพนธ์ของ
มยุรี ศรีทอง
ความมุ่งหมายของงานวิจัย
1.เพื่อศึกษาระดับของความรู้ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัยโดยรวม
และจำแนกรายด้านที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
2.เพื่อเปรียบเทียบความรู้ในการอนุรักา์สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักจัย
ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้จะเป็นแนวทางสำหรับครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก
ปฐมวัยในการที่จะจัดรูปแบบการเรียนการสอนโดยการนำรูปแบบการจัดการเรียรู้แบบ
เด็กนักวิจัยซึ่งเป็นรูปแบบที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม
เพื่อสามารถนำมาพัฒนาความรู้ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย
รวมทั้งพัฒนาความรู้ด้านอื่นๆของเด็กปฐมวัยต่อไป
ของเขตของการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง
อายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนหงสประภาสประสิทธิ์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ซึ่งมี 2
ห้องเรียน จำนวน 70 คน
นิยามศัพท์เฉพาะ
1.เด็กปฐมวัย หมายถึง นักเรียนชาย-หญิง
อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนหงสประภาสประสิทธิ์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2
2.การจัดการเรียรู้แบบนักวิจัย หมายถึง
การจัดการเรียนรู้โดยผู้เรียนมีความสำคัญเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้
ซึ่งผู้เรียนจะได้เรียนรู้ในเรื่องที่ตนเองสนใจ ได้ลงมือค้นคว้า
แสวงหาความรู้เด็กจะได้สร้างองค์ความรู้
พร้อมกับแก้ปัญหาและค้นพบสิ่งใหม่ๆ
กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยมีดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นทบทวนความรู้และเลือกหัวข้อเนื้อหาที่สนใจ
ขั้นที่ 2 ขั้นเด็กค้นคว้าวิจัยหาความรู้
ขั้นที่ 3 ครูทบทวนความรู้
3.ความรู้ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หมายถึง
สิ่งที่สั่งสมมาจากการเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์
รวมทั้งรวมความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะในการดูแลรัษาสิ่งแวดล้อม
จัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยเรื่อง ต้นไม้ในโรงเรียน
จุดประสงค์
1.เพื่อส่งเสริมความรู้ในการอนุรักษ์ต้นไม้
- แสดงความต้องการที่จะดูแลรักษต้นไม้ ทำให้เพิ่มจำนวนต้นไม้
- ใช้ประโยชน์จากต้นไม้ ให้คุ้มค่าและประหยัด
2.เพื่อส่งเสริมให้เด็กรู้จักการศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตนเองจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
เนื้อหา
ต้นไม้มีบุญคุณ มีประโยชน์ต่อมนุษย์และสัตว์
ควรช่วยกันปลูกต้นไม้ บำรุงรักษาต้นไม้
เพราะต้นไม้เป็นสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของโลก
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบเด็กวิจัย
ขั้นที่ 1 ทบทวนความรู้และเลือกหัวข้อเนื้อหาที่สนใจ
ครูตั้งคำถามว่าสิ่งต่างๆรอบตัวเรามีประโยชน์มีบุญคุณต่อเราและสัตว์ เด็กๆแสดงความคิดเห็นหลังจากนั้นลงความเห็นว่าเรื่องที่ต้องการเรียนรู้มาก ที่สุดคือ เรื่อง ต้นไม้ในโรงเรียน
ขั้นที่ 2 ขั้นเด็กค้นคว้าหาความรู้
เด็กศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ได้แก่ ศึกษาของจริงจากต้นไม้บริเวณโรงเรียน ศึกษาจากหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับต้นไม้และศึกษาวิธีดูแลรักษาและเพิ่ม จำนวนต้นไม้และการใช้ประโยชน์จากต้นไม้อย่างคุ้มค่าและประหยัดระหว่างศึกาา แหล่งเรียนรู้ เด็กร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซักถามและตอบคำถาม จากนั้นเด็กคิดและทำกิจกรรมตามความสนใจของตนเองพร้อมทั้งนำเสนอผลงาน
ขั้นที่ 3 ขั้นประเมินผล
เด็กพูดคุยสนทนาเรื่องราวที่ได้เรียนรู้ในเรื่องต้นไม้ในโรงเรียน การดูแลรักษาต้นไม้เพิ่มขึ้นและการใช้ต้นไม้ให้คุ้มค่าและประหยัด และวาดรูปสรุปเรื่องราวที่ตนเองได้เรียนรู้ ครูสังเกตพฤติกรรมพูดคุย การทำผลงานและการนำเสนอผลงานของเด็ก
การประเมินผล
1.สังเกตการเข้าร่วมกิจกรรม
2.สังเกตการตั้งคำถามและตอบคำถาม
3.สังเกตการพูดคุยสนทนา
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบเด็กวิจัย
ขั้นที่ 1 ทบทวนความรู้และเลือกหัวข้อเนื้อหาที่สนใจ
ครูตั้งคำถามว่าสิ่งต่างๆรอบตัวเรามีประโยชน์มีบุญคุณต่อเราและสัตว์ เด็กๆแสดงความคิดเห็นหลังจากนั้นลงความเห็นว่าเรื่องที่ต้องการเรียนรู้มาก ที่สุดคือ เรื่อง ต้นไม้ในโรงเรียน
ขั้นที่ 2 ขั้นเด็กค้นคว้าหาความรู้
เด็กศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ได้แก่ ศึกษาของจริงจากต้นไม้บริเวณโรงเรียน ศึกษาจากหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับต้นไม้และศึกษาวิธีดูแลรักษาและเพิ่ม จำนวนต้นไม้และการใช้ประโยชน์จากต้นไม้อย่างคุ้มค่าและประหยัดระหว่างศึกาา แหล่งเรียนรู้ เด็กร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซักถามและตอบคำถาม จากนั้นเด็กคิดและทำกิจกรรมตามความสนใจของตนเองพร้อมทั้งนำเสนอผลงาน
ขั้นที่ 3 ขั้นประเมินผล
เด็กพูดคุยสนทนาเรื่องราวที่ได้เรียนรู้ในเรื่องต้นไม้ในโรงเรียน การดูแลรักษาต้นไม้เพิ่มขึ้นและการใช้ต้นไม้ให้คุ้มค่าและประหยัด และวาดรูปสรุปเรื่องราวที่ตนเองได้เรียนรู้ ครูสังเกตพฤติกรรมพูดคุย การทำผลงานและการนำเสนอผลงานของเด็ก
การประเมินผล
1.สังเกตการเข้าร่วมกิจกรรม
2.สังเกตการตั้งคำถามและตอบคำถาม
3.สังเกตการพูดคุยสนทนา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น