การบันทึกครั้งที่ 6
วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ.2559
เนื้อหาที่เรียน ความรู้ที่ได้รับ
ก่อนจะเริ่มเรียน อาจารย์ให้นักศึกษาฝึกคัดลายมือเพื่อให้นักศึกษาเกิดความเคยชินและมีลายมือที่สวยงาม เพื่อจะนำไปใช้ในอนาคตต่อไป
ต่อมาอาจารย์ให้นักศึกษาดูของเล่นของรุ่นพี่ เพื่อเป็นไอเดียในการสร้างสรรค์ของเล่นวิทยาศาสตร์ใหม่ๆขึ้นมา
อาจารย์ถามเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดเงา
เงาคืออะไร
เงา คือ
บริเวณที่แสงไม่สามารถส่องผ่านไปถึงหรือส่องไปถึงเพียงบางส่วนเมื่อมีตัว
กลางทึบแสงมากั้นระหว่างแหล่งกำเนิดแสงกับฉาก
จึงปรากฏเห็นเป็นเงาซึ่งมีรูปร่างคล้ายกับวัตถุที่มากั้น
โดยเราสามารถแยกเงาได้เป็น2 ชนิด คือ
1. เงามืด
เป็นบริเวณที่วัตถุทึบแสงขวางทางเดินของแสงและสามารถบังแสงได้ทั้งหมด
ทำให้เกิดบริเวณที่มืดสนิท คือการที่แสงสว่างส่องไม่ถึงอีกด้านหนึ่งนั่นเอง
2. เงามัว เป็นบริเวณที่สว่างเพียงเล็กน้อย เป็นเพราะวัตถุทึบแสงไม่สามารถบังแสงได้ทั้งหมด
ส่วนความกว้างของเงามืดและเงามัวนั้น ขึ้นอยู่กับขนาดของแหล่งกำเนิดแสง
วัตถุกั้นแสง ฉากรับแสง และระยะห่างของแหล่งกำเนิดแสงกับวัตถุที่กั้นแสง
ประโยชน์ของเงา
มนุษย์สามารถใช้ประโยชน์จากเงาที่เกิดขึ้นได้ ดังนี้
1. ภูมิปัญญาของคนไทยในสมัยโบราณใช้การเกิดเงาในการประกอบอาชีพ เช่น
นำไปใช้ในการแสดงหนังตะลุง หรือใช้มือทำให้เกิดเงาเป็นรูปร่างๆ
เพื่อประกอบการเล่านิทาน
2.
คนไทยในสมัยก่อนอาศัยการสังเกตเงาที่เกิดจากดวงอาทิตย์นำไปใช้ประโยชน์ในการ
ประมาณเวลาได้ เช่น ถ้าเกิดเงาที่ทอดยาวแสดงว่า
ขณะนั้นเป็นเวลาเช้าหรือเย็น ถ้าเงาสั้นลง แสดงว่า
เป็นเวลาสายหรือบ่ายแต่ถ้าเงาสั้นมากจนเกือบมองไม่เห็นแสดงว่า
ขณะนั้นเป็นเวลาเที่ยงวันเนื่องจากดวงอาทิตย์จะอยู่เหนือศีรษะพอดี
เงากับการเกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติ
โลก ดวงจันทร์
และดาวเคราะห์ทุกดวงจัดเป็นตัวกลางทึบแสง
เมื่อดวงอาทิตย์ส่องแสงมากระทบจึงบังแสงไม่ให้ผ่านไปได้ทำให้เกิดเงามืดหรือ
เงามัวขึ้นได้ จากความรู้ที่ผ่านมานั้น โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์
ดวงจันทร์โคจรรอบโลก และดวงอาทิตย์หมุนรอบตัวเอง เมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์
และโลก โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน
ทั้งโลกและดวงจันทร์ต่างก็เป็นตัวกลางทึบแสง
จึงทำให้เกิดการบังของเงาขึ้นเป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า
สุริยุปราคาและจัทรุปราคา
- สุริยุปราคา
เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในเวลากลางวัน เมื่อดวงอาทิตย์
ดวงจันทร์และโลกโคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน
มีดวงจันทร์ซึ่งเป็นตัวกลางทึบแสงอยู่ตรงกลางระหว่างดวงอาทิตย์กับโลก
ดวงจันทร์จึงบังแสงจากดวงอาทิตย์ไม่ให้ส่องผ่านมายังโลก
จึงเกิดเงาของดวงจันทร์ทอดมายังโลก
ทำให้คนบนโลกที่อยู่ในบริเวณเงามองไม่เห็นดวงอาทิตย์ หรือเห็นไม่เต็มดวง
เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า สุริยุปราคา
- จันทรุปราคา
เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในเวลากลางคืนช่วงที่ดวงจันทร์เต็มดวง
เมื่อดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์โคจรอยู่ในแนวเดียวกัน
ซึ่งมีโลกอยู่ตรงกลางโลกเป็นตัวกลางทึบแสงและมีขนาดใหญ่กว่าดวงจันทร์จะบัง
แสงจากดวงอาทิตย์ไม่ให้ส่องผ่านไปถึงดวงจันทร์
จึงเกิดเงาของโลกบังดวงจันทร์ได้เต็มดวงเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า จันทรุปราคา
มาตรฐานการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว 1. 1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบ
ต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้
สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่ง
มีชีวิต
มาตรฐาน ว 1.2
เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ
การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสาร สิ่งที่เรียนรู้
และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2. 1
เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ
มีกระบวนการสืบเสาะ
หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้
ประโยชน์
มาตรฐาน ว 2.2
เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ
การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศ
และโลกนำความรู้ไปใช้ในในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้อง
ถิ่นอย่างยั่งยืน
สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว 3. 1
เข้าใจสมบัติของสาร
ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค
มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้
นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 3.2
เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร การเกิดสารละลาย
การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์
สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐาน ว 4. 1
เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์
มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้
สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม
มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 5 พลังงาน
มาตรฐาน ว 5. 1
เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน
ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวน การสืบเสาะหาความรู้
สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6. 1
เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก
ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์
สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐาน ว 7. 1
เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ
กาแล็กซีและเอกภพการปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก
มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์
การสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 7.2
เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศและทรัพยากร
ธรรมชาติ ด้านการเกษตรและการสื่อสาร
มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์
สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรมต่อชีวิตและ
สิ่งแวดล้อม
สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 8. 1
ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้
การแก้ปัญหา
รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน
สามารถอธิบายและตรวจสอบได้
ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
การวางดอกไม้กลีบเดียวหน้ากระจกที่ความกว้างในการกางที่ต่างกัน ทำให้จำนวนกลีบของดอกไม้นั้นเพิ่มมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตุ๊กตาที่วางอยู่หน้ากระจกกับการวางกระจกแบบกางออกกว้างๆกับการวางกระจกแบบเเคบ
คำศัพท์
- Organism = สิ่งมีชีวิต
- Force = แรง
- Space = อวกาศ
- Substance = สาร
- Learning Standards = มาตรฐานการเรียนรู้
ทักษะที่ได้รับ
- ความรู้เรื่องเงา
- ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- การทดลอง
การนำมาประยุกต์ใช้
- สามารถนำไปปรับใช้ในอนาคตได้
บรรยากาศในห้องเรียน
- โต๊ะ เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา สะอาดเรียบร้อย อุณหภูมิในห้องพอดี
การจัดการเรียนการสอน
- มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์
ประเมินตนเอง
- ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมอย่างเต็มที่
ประเมินเพื่อน
- มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม
ประเมินอาจารย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น