วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2559


การบันทึกครั้งที่ 8
วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ.2559 

ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากสอบกลางภาค









วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2559


การบันทึกครั้งที่ 7
วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ.2559 
เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ

ก่อนจะเริ่มเรียน อาจารย์ให้นักศึกษาฝึกคัดลายมือเพื่อให้นักศึกษาเกิดความเคยชินและมีลายมือที่สวยงาม เพื่อจะนำไปใช้ในอนาคตต่อไป ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3





เพื่อนๆนำเสนอของเล่น
ว่าว
รถลูกโป่ง
หลอดเลี้ยงลูกบอล
แตร่
ปี่หลอดหรรษา
เครื่องดูดจอมกวน
ไก่กระต๊าก
ทะเลในขวด
ที่ยิงบอลไม้ไอติม
พายุโทนาโด
รถของเล่น
ร่มชูชีพ
เหวี่ยงมหาสนุก
รถแม่เหล็ก
ลูกข่าง
กระดานลูกแก้ว
ธนูจากไม้ไอติม
ปลาว่ายน้ำ
แว่นสามมิติ
นักดำน้ำจากหลอดกาแฟ




อาจารย์แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่นแล้วให้นักศึกษาทาบมือลงบนกระดาษแล้ววาดภาพตามมือของตนเอง จากนั้นก็ให้ใช้ปากกาเมจิกวาดเส้นโค้งบนภาพมือที่เราวาดพอวาดเสร็จก็เปลี่ยน สีปากกาแล้วขีดเส้นโดยขีดเส้นที่สองให้ติดกันกับเส้นเเรกที่ทำไว้  ดังรูปภาพ





การทดลอง

การทดลองทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องการไหลของน้ำที่ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ จากภาพคือการทดลองการไหลของน้ำ










อาจารย์ให้พับกระดาษเป็นสี่เหลี่ยมแล้วตัดเป็นรูปดอกไม้ จากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาพับดอกไม้ที่ทำแล้วนำไปลอยในน้ำแล้วคอยสังเกตดูการเปลี่ยนแปลง จะพบว่าการเปลี่ยนแปลงคือ กระดาษรูปดอกไม้ที่เราพับเเล้วเอาไปลอยไว้ในน้ำเกิดการคลี่ออกคล้ายกับดอกไม้บาน

สาเหตุ  เกิดมาจากน้ำเข้าไปซึมซับตามพื้นที่ว่างของกระดาษทำให้กระดาษอ่อนแล้วเกิดการคลี่ออกตามที่เราได้ทดลองทำ





เรามีคลิปวิดีโอมาให้ด้วยดูด้วยนะค่ะ >.<



เพื่อนๆ นำเสนอของเล่น (เป็นกลุ่ม)

กลุ่มที่ 1 กล่องพิศวง

กลุ่มที่ 2  กล้องเพอริสโคป

กลุ่มที่ 3 กล้องสะท้อน

กลุ่มที่ 4 ตกสัตว์ทะเล

กลุ่มที่ 5 ไฟฉายหลากสี


กลุ่มที่ 6 ลูกกลิ้งหกคเมน

คำศัพท์ 
  • Center of gravity   = จุดศูนย์ถ่วง
  • top   =  ลูกข่าง
  • objec  = วัตถุ
  • vibration   =   การสั่น
  • Water features  =  คุณสมบัติของน้ำ
  • Water level   = ระดับน้ำ


ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการนำเสนองาน
  • การสังเกตการทดลอง
  • การใช้ความคิดสร้างสรรค์
  • การทำงานเป็นกลุ่ม
  • การคัดลายมือให้สวยงาม
การนำมาประยุกต์ใช้
  • การออกแบบของเล่นที่เหมาะสมกับพัฒนาการ และการทดลองที่ง่ายๆเด็กสามารถทำและเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและสามารถนำไป ต่อยอดเป็นความรู้ใหม่ได้
บรรยากาศในห้องเรียน
  • โต๊ะ เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา สะอาดเรียบร้อย อุณหภูมิในห้องพอดี
การจัดการเรียนการสอน
  • มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ 

ประเมินตนเอง
  • ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมอย่างเต็มที่                     
ประเมินเพื่อน
  • มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม            
ประเมินอาจารย์
  • แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2559

สรุปบทความ วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


ผู้แต่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ

          เด็กเล็กๆมีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไรสามารถแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่ เด็กสามารถสังเกตและสื่อสารเกี่ยวเรื่องดิน หิน อากาศและท้องฟ้า เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ พลังงานจากแม่เหล็ก แสงและเสียง เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำและความร้อน สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มการทำงานทางวิทยาศาสตร์ เด็กสามารถแก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้มากมาย กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาโดยทำให้เด็กได้รับความรู้ พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่น การสังเกต การจำแนกประเภท การเรียงลำดับ การวัด การคาดคะแน และการสื่อสาร รวมทั้งทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กสนใจวัตถุและเหตุการณ์ เด็กเล็กมีวิธีการเรียนรู้คล้ายนักวิทยาศาสตร์สามารถทำงานด้วยทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และพัฒนาการทางอารมณ์เช่นเด็กมีความรู้สึกและเจตคติทางบวก

    กิจกรรมวิทยาศาสตร์ในห้องเรียนเด็กปฐมวัยมีความสำคัญหลายประการดังนี้

  1. ส่งเสริมการเห็นคุณค่าของตนเองและมีความกระตือรือร้น (คือเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้)
  2. ส่งเสริมการทำงานรายบุคคลและการคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาของเด็ก
  3. ยอมรับรูปแบบการเรียนรู้จากวัสดุอุปกรณ์ซึ่งจะช่วยสร้างประสบการณ์ที่เป็นธรรมชาติ การรับรู้และความพยายามของเด็กหลายคนจากการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีความสำคัญต่อการรับรู้ชีวิต เรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์การทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์
  4. เพื่อเป็นการช่วยอธิบายความเข้าใจด้วยตัวเองของเด็ก
  5. ดูแลเอาใจใส่ต่อพฤติกรรมของเด็กที่ปรากฎ เช่น การแสดงความกังวลใจ เด็กที่เกิดความเบื่อ
  6. กิจกรรมการค้นพบช่วยให้ผู้เรียนสนใจใฝ่รู้ อยากสืบค้นต่อไป
  7. ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพทางสติปัญญาของเด็กจากการเรียนรู้ที่เด็กได้สัมผัสกับวัสดุอุปกรณ์ ทำให้เด็กมีแรงจูงใจในการทำกิจกรรมที่มีความยากขึ้น เด็กได้เรียนรู้ภาษาและเนื้อหาสาระแบบบูรณาการ เช่น วิธีการได้รับประสบการณ์ทางภาษาแบบธรรมชาติต่อการอ่าน วิธีการสอนแบบโครงการต่อการพัฒนาหลักสูตร การใช้ประสาทสัมผัส และการใช้กล้ามเนื้ออย่างเหมาะสมกับวัย